‘ความปลอดภัย’ คือ การปราศจากเพศภัยภยันอันตรายต่างๆ ตลอดจนปราศจากอันตรายที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ ซึ่งความปลอดภัยควรเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตรวมถึงการทำงานอันเป็นปัจจัยหลักสำคัญในชีวิตของมนุษย์
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ‘อาชีวอนามัย’
โดยงาน ‘อาชีวอนามัย’ คือ การดูแลสภาพงานให้มีความเหมาะสมกับมนุษย์ ตลอดจนมีการจัดการบุคคลให้มีความเหมาะสมกับงานที่ตนเองถนัด อีกทั้งยังมีความรับผิดชอบ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญอันควรยึดมั่น ได้แก่…
- มีจุดประสงค์ส่งเสริม พร้อมรักษาสุขภาพกาย, ใจ รวมทั้งการมีชีวิตอันเป็นปกติในสังคมของทุกอาชีพ
- เป็นการป้องกันความเสี่ยงซึ่งอาจทำให้คนงานเกิดปัญหาสุขภาพตามมา
- คือการป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพที่เกิดมาจากการทำงาน
- เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้มีความเหมาะสมอีกทั้งยังเอื้อต่อการทำงาน มีความเหมาะสมทั้งร่างกายและจิตใจ
ความสำคัญของ การสร้างความปลอดภัยในการทำงานอย่างเป็นระบบ
การทำงานที่เต็มไปด้วยความระมัดระวังจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัย และก็จะทำให้เกิดประโยชน์หลายประการตามมา ได้แก่…
- ทำให้ต้นทุนผลิตลดลง
เมื่อเกิดอุบัติเหตุลดลง แน่นอนว่าความสูญเสีย หรือ ค่าใช้จ่ายที่จะนำไปใช้ในอุบัติเหตุก็ลดน้อยลงตามไปด้วย ทำให้โรงงานประหยัดเงินค่ารักษาพยาบาลได้เป็นจำนวนมาก
- ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น
การวางรากฐานการทำงานที่มีความปลอดภัย จะทำให้คนงานมีกำลังใจในการทำงานได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังมีความรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น ส่งผลทำให้มีผลผลิตมีคุณภาพมากขึ้นตามไปด้วย
- กำไรมากขึ้น
เพราะต้นทุนลดลง ในขณะเดียวกันผลผลิตกลับเพิ่มมากขึ้น อันเป็นเหตุให้โรงงานสร้างได้กำไรมากขึ้นตามไปด้วย
- รักษาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมีมนุษย์ธรรม
สร้าง, ควบคุม, ดูแล สภาพการทำงานมีความปลอดภัย จะเป็นการช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งยังส่งผลให้คนงานได้รับบาดเจ็บน้อยลง ทำให้เป็นการรักษาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของชาติไว้ได้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมีเมตตาธรรมของนายจ้าง อีกทั้งสิ่งนี้ยังเป็นพื้นฐานของมนุษย์ที่ควรจะได้รับ
- กระตุ้นให้พนักงานอยากทำงานมากขึ้น
เพราะพวกเขาเห็นว่ามีความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเป็นการดำรงชีวิตของมนุษย์สอดคล้องตามทฤษฎีการจูงใจทั้ง 5 ของ Maslow Motivation Theory
เพราะฉะนั้น บริษัท, องค์กร หรือโรงงาน จึงจำเป็นต้องให้มีการจัดการอาชีวอนามัยในการทำงาน รวมทั้งสร้างแนวปฏิบัติที่เทียบเท่าระดับสากล ส่งเสริมสภาพแวดล้อมทำงานที่ดี และปฏิบัติต่อบุคลากรทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม เพื่อนำพาบุคคลากรไปสู่เป้าหมายหลัก คือ จำนวนกรณีเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงจะต้องเป็น ‘0’ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน